วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทัวร์เป็ดสาวน้อย ตอนผจญเมืองภูเก็จ

ทัวร์เป็ดสาวน้อย  ตอนผจญเมืองภูเก็จ

ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไม ภูเก็จ ถึงสะกดด้วยตัว จ.จาน ที่เป็นอย่างนี้ เพราะหนิงเพิ่งพาฝาแฝดไปเที่ยวเมืองภูเก็จ และพบว่ามีคำนี้อยู่ในหลายแห่งในเมือง เลยสอบถามชาวบ้าน ก็ได้ความว่าเป็นคำดั่งเดิม ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น ภูเก็ต โดยคนเล่าเองก็ไม่รู้ว่าสาเหตุเป็นมาอย่างไร แต่จากข้อมูลที่เสาะหามาได้ พบว่าภูเก็จอาจจะเป็นเสียงเพี้ยนของคำว่า บูกิต ในภาษามลายู ส่วนภูเก็จ มีความหมายว่า เมืองแก้ว สมัยก่อนภูเก็จเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือต่างชาติ ต่อมาเมื่อพบแร่ดีบุกในเกาะแห่งนี้ จึงทำให้ภูเก็จเปลี่ยนสถานะแค่ทางผ่าน เป็นแหล่งรับซื้อแร่ดีบุกมาตั้งแต่สมัยอยุธยาทีเดียว และเมื่อเวลาผ่านไป ภูเก็จได้เปลี่ยนสถานะอีกครั้ง จากเมืองทำเงินจากแร่ดีบุก ตอนนี้ภูเก็ต คือเมืองท่องเที่ยวติดอันดับโลกที่ฝรั่งมังค่าต้องมา แต่สิ่งที่ทั้งฝรั่งและไทยน้อยคนนักจะรู้คือ มีอะไรมากกว่าหาดทราย สายลม และสองเราซ่อนตัวอยู่ตรงกลางเกาะ ตรงที่เป็นอำเภอเมือง ณ ปัจจุบันนี้ละ การผจญภัยครั้งนี้เราจะพาไปเที่ยวภูเก็จ เมืองเก่าของเราแต่ก่อนกันคะ

เรื่องไปเที่ยวภูเก็จ เป็นไอเดียของหนิงกับใหญ่ แฝดผู้พี่มาช้านาน เพราะหนิงเคยได้มาพักในตัวเมืองและพบว่าในเมืองมีเรื่องราวมากมายที่เราไม่เคยรู้ เลยอยากชวนใหญ่มา แล้วก็ช่างบังเอิญเหลือเกินที่เล็กแฝดน้องไปได้ตั๋วเครื่องบินฟรีไปเที่ยวภูเก็จ เล็กเลยจัดแจง ให้หนิงตามไปเป็นคนพาเที่ยว ทั้งๆที่หนิงก็ยังงงจนถึงทุกวันนี้ว่า เล็กชวน หรือเล็กบังคับให้ไป แต่ก็สุดจะหาคำตอบได้ เพราะเมื่อรู้ตัวอีกที หนิงก็หอบผ้าออกจากบ้านตามแฝดไปซะแล้ว

แฝดเดินทางไปเที่ยวกันก่อน1วัน เพราะหนิงติดงาน โดยแฝดเดินทางไปถึงภูเก็จในช่วงเช้าวันเสาร์ จากคำบอกเล่าของแฝด อากาศในวันนั้นค่อนข้างร้อน ทั้งที่ก่อนหน้านั้นอาทิตย์หนึ่ง ภูเก็จฝนตกแบบไม่ลืมหูลืมตา ในวันแรกของแฝดอากาศจึงวิปลิตเสียเหลือเกิน แต่ก็ไม่มีอะไรห้ามแฝดได้ ลงเครื่องบิน แฝดก็ไปติดต่อรถบัสเข้าเมือง เก็บคนละ 85บาทเอง เรียกว่าราคาย่อมเยาว์มาก แต่แฝดบอกจอดทุกป้าย แต่ก็เอาเถอะ 85บาทเอาไรมากนะ ตั้งหลายสิบกิโลกว่าจะถึงเมือง เล็กเป็นคนจัดแจงทุกอย่าง รวมทั้งจองโรงแรมด้วย เล็กได้จองโรงแรม ชิโนเฮาส์ไว้ เป็นโรงแรมในเมืองบนถนนมนตรี โรงแรมนี้เดิมตัวตึกเป็นกรมราชพัสดุเก่า ต่อมาก็ปรับปรุง ห้องพักมีหลากหลายสไตล์ กว้างขวางและที่สำคัญ ไม่แพงมากนัก

ตึกโบราณที่ชาวบ้านอนุรักษ์กันไว้
แฝดโชคดี เพราะคนขับรถใจดีขับรถมาส่งถึงหน้าโรงแรม หลังจากแฝดเข้าที่พัก 2สาวก็จัดแจงเดินออกสำรวจเมืองในทันที แต่ก่อนจะเดินทางไกล กองทัพย่อมเดินด้วยท้อง ว่าแล้ว 2สาวก็ถามหาร้านอร่อยๆที่พอจะประทังชีวิตได้ แต่โรงแรมก็แสนจะใจดี แนะนำร้านระย้าให้ทั้ง2 เป็นการต้อนรับที่แสนอบอุ่น โดยร้านระย้าอยู่ไม่ห่างโรงแรมเท่าไหร่ ทั้ง 2 ก้าวเท้ายาวเพื่อไปที่ร้านก่อนลมจะใส่เพราะแสงแดดและหิว แล้ว ทั้ง2คนก็พบว่า อาหารที่นี้ไม่ได้แค่ประทังชีวิต แต่มันอร่อยมาก โดยเฉพาะแกงปูกับเส้นหมี่ และน้ำพริกกุ้งเสียบ ทั้งสองอิ่มท้องตึงจนแทบจะหมดแรงเดิน เพราะอยากนอนซะมากกว่า แต่เมื่อมาแล้วจะกลับไปนอนก็ใช่ที่ ใหญ่เลยลากเล็กออกสำรวจย่านเมืองเก่า ย่านเมืองเก่าในภูเก็จเป็นถนนสายไม่ยาวนัก ชื่อถนนเป็นชื่อเมืองต่างๆ อย่างถนนถลาง ถนนภูเก็ต หรืออีกถนนก็เยาวราช ถนนดีบุก และอีกหลายชื่อ ตึกรามบ้านช่องในเมืองเก่านี้เป็นแบบชิโน-โปรตุกิส ลักษณะบ้านแบบนี้พบมากในภูเก็ต ตรัง ระนอง พังงา เดิมทีสถาปัตยกรรมแบบนี้เริ่มต้นที่มาเลย์ โดยในสมัยก่อน โปรตุเกสได้เดินทางไปที่เมืองมะละกา และได้สอนให้ชาวพื้นเมืองปลูกสร้างอาคารแบบนี้ขึ้น โดยเป็นการผสมผสานของสถาปัตยกรรม จีนและโปรตุเกสให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวภายใต้สังคมของ 3ชนชาติได้แก่ จีน มาเลย์และโปรตุเกส ลักษณะสถาปัตย์แบบชิโนโปรตุกิสในเมืองนี้เป็นอาคาร 2ชั้นที่เรียกกันว่าอาคารแบบโคโรเนียลหรือเตี้ยมฉู่ ชั้นล่างด้านหน้าทำเป็น ช่องโค้งต่อเนื่องกันเป็นทางเดิน ข้อดีของทางเดินแบบนี้คือในหน้าฝนจะมีทางเดินกันฝนเป็นทางยาว อาคารอย่างนี้เป็นอาคารของชนชั้นกลางในยุคนั้น ส่วนบ้าน หรือ คฤหาสถ์หลังใหญ่ๆ หรือที่เรียกว่าอั่งม้อหลาว เป็นบ้านของคหบดีในยุคนั้นอย่างบ้านชินประชาของพระพิทักษ์

ส่วนสถาปัตยกรรมแบบนี้เดินทางมาเมืองไทยได้ยังไงต้องย้อนกลับไปถึงแร่ดีบุก ที่เป็นแรงดึงดู ให้ต่างชาติ ไม่ว่าอังกฤษ หรือฮอลันดา เข้ามาซื้อ ทำให้ภูเก็ตต้องการแรงงานและนายทุนที่จะมาทำเหมืองแร่ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี( คอซิมบี้ ณ ระนอง) ซึ่งท่านมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับปีนัง ได้นำช่างและคหบดีชาวมาเลย์เข้ามายังภูเก็จ นั้นคือจุดเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกิสในภูเก็จ

ช่างและคหบดีสมัยนั้นที่ย้ายเข้ามาในภูเก็จล้วนแต่เป็นชาวจีนฮกเกี๊ยน ต่อมาวัฒนธรรมต่างๆที่ติดมาเหล่านั้นได้กลมกลืนเข้ากับชาวเมืองจนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นไป

ภายหลังในปีพ.ศ.2537 ทางเทศบาลนครภูเก็ต ราชการและเอกชน ร่วมทั้งประชาชนที่อาศัยในละแวกนั้น ร่วมมือกันอนุรักษ์อาคารเหล่านี้เป็นเนื้อที่ 210 ซึ่งครอบคลุมเนื้อที่ในถนนรัษฏา ถนนดีบุก ถนนกระบี่ ถนนเยาวจาช ถนนถลาง ถนนพังงา และถนนเทพกษัตรี โดยในข้อกำหนดนี้ได้ห้ามไม่ให้สร้างอาคารสูงเกิน 12เมตรในละแวกนั้นด้วย

บ้านชินประชา ด้านในเป็นร้านอาหาร Blue Elephant
สองสาวเดินเล่นกันเพลินจนไปถึงบ้านชินประชา บ้านหลังนี้เป็นบ้านสไตล์ชิโน-โปรตุกิส หลังแรกๆ สร้างโดยพระพิทักษ์ชินประชาหรือตันม่าเสียง เมื่อมีอายุเพียงแค่ 20ปี พระพิทักษ์ชินประชา มีเชื้อสายชาวจีนฮกเกี้ยน มีบิดาชื่อหลวงบำรุงจีนประเทศ (ตันเนี่ยวยี่)ซึ่งเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน รับราชการอยู่ในประเทศจีน ก่อนที่จะเดินทางมายังประเทศไทย ภายหลังได้ทำเหมืองแร่ดีบุก และค้าขายกับปีนัง

บ้านหลังนี้ปัจจุบัน มีร้านอาหารไทยที่ดังระดับโลกมาเปิดคือ Blue Elephant ไหนๆก็ไหนๆ จะไม่พูดเรื่องร้านนี้เห็นทีจะไม่ได้ เพราะหนิงเองเคยเป็นลูกค้าร้านนี้ที่ลอนดอนมาแล้ว ขอบอกว่าเป็นร้านอาหารไทยที่ไม่ทำให้เสียชื่อคนไทยเลย รสชาดอาหารเป็นไทยมาก จะอ่อนก็อ่อนเผ็ดไปเท่านั้น แต่ราคาก็แถบจะอยากคายอาหารคืนเขาไปเลย แพงมากคะ ได้ยินว่าเจ้าของเป็นสตรีชาวไทยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ แล้วก็มาทำร้านอาหารกัน ปัจจุบันนอกจากจะเป็นร้านอาหาร ยังเป็นโรงเรียนสอนทำอาหารไทยอีกด้วย

ข้างหลังคือบาบ๋าแฝด
ใหญ่ชื่นชม ชื่นชอบบ้านชินประชา จนเล็กปวดหัว ต้องพากันกลับไปนอนพักที่โรงแรม ภูเก็จนอกจากสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกรักษ์แล้ว ยังมีเรื่องเชื่อชาติและวัฒนธรรมที่น่าสนใจอีก หากใครเคยรู้ก็พอจะเคยได้ยินชื่อของ บาบ๋า ยาหยา หรือ บาบ๋า ยอนย่า ซึ่งเป็นชื่อเรียกลูกครึ่งชาวจีน ผสมชาวพื้นเมืองในมาเลเซีย โดย บาบ๋าเป็นชื่อเรียกเด็กลูกครึ่งผู้ชาย ยอนย่าเป็นชื่อเรียกลูกครึ่งผู้หญิง แต่สำหรับชาวภูเก็จ เรียกรวมไปว่าบาบ๋า นอกจากนี้ยังมีอีกชื่อคือ เพอรานากัน เป็นคำที่นิยมในสิงค์โปร์และมาเลเซีย ในภูเก็จ ยังมีการตั้งสมาคมไทยเพอรานากัน สำหรับชาวบาบ๋าในภูเก็จซึ่งเท่าที่สำรวจมาอยู่เกิน 50%อีกด้วย

การที่มีชาวบาบ๋าอาศัยอยู่บนเกาะนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ไม่อาจห้ามได้ และอาจจะเป็นสิ่งดีซะด้วยซ้ำที่ได้เห็นอดีตที่ยังอยู่ในปัจจุบัน ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านคนเหล่านี้ วัฒนธรรมที่ยังคงอยู่คู่บาบ๋าในภูเก็จอีกอย่างคือเครื่องแต่งกาย โดยเฉพาะของสตรี ยังคงมีร้านขายเสื้อผ้าหลายร้านที่ขายเสื้อผ้าสไตล์บาบ๋า และคนท้องถิ่นก็ยังคงใส่เสื้อผ้าเหล่านี้อยู่แม้ในชีวิตประจำวัน เสื้อผ้าลูกไม้รัดรูป กับผ้าผ้าถุงรัดเนื้อรัดตัว เพราะสาวบาบ๋ามักจะเอวเล็กสะโพกผาย ดูแล้วต้องมองตามทีเดียว

นอกจากเครื่องแต่งกาย ยังมีอาหารที่พอจะเห็นกันในปัจจุบัน และนิยมมากๆก็น้ำพริกกุ้งเสียบเนี้ยละ นอกจากนั้นก็มีพะโล้ที่ทำแห้งๆมีน้ำขลุกขลิก หรือ แกงไก่ใสมันฝรั่ง ซึ่งเป็นเมนูยอดฮิตของที่นี้ จะว่าไป แกงไก่ใส่มันฝรั่งจะมารสชาติเหมือนแกงกระหรี่ไก่หรือไม่ ก็น่าจะได้ลอง
นอกจากนี้จะไม่พูดถึงก็คงไม่ได้ นั้นคือประเพณีกินผัก ที่ปัจจุบันเป็นประเพณีนิยมไปสำหรับคนทั้งประเทศแล้ว

เย็นวันนั้นหลังจากเล็กได้นอนพัก มื้อเย็น 2คนได้หาอาหารอร่อยกิน โดยไปกินข้าวที่ย้อยโภชนา ร้านนี้ใหญ่เล่าว่า ปลามงอร่อยมาก เป็นที่ติดอกติดใจจนทุกวันนี้ คืนนั้น 2สาวยังเดินกลับไปเมืองเก่า เก็บความงามยามเย็นไว้ รอหนิงมาร่วมผจยภัยในวันรุ่งขึ้น


วันอาทิตย์ วันหยุดของทุุกคน
เช้าวันนี้ หนิงมีนัดกับการบินไทยที่จะต้องบินไปเอนเตอร์เทนเพื่อนฝูง วันนั้นหนิงใช่บริการของรถไฟฟ้ามุ่งหน้าไปสุวรรณภูมิ โดยหนิงเลือกใช่แบบ ด่วน โดยรถไฟจะไม่แวะจอดที่ไหนเลย รถไฟจะออกจากป้ายทุกครึ่งชั่วโมง หนิงเลือกนั่งจากพญาไทแทนที่จะเลือมักกะสัน เพราะ ได้ยินว่าการต่อรถมักกะสันไม่สะดวก สู้ที่พญาไทไม่ได้ ลงจาก BTSก็เดินเป็นคุณนายไปได้เลย ค่ารถไม่แพง ไปกลับ 150บาท แต่ขาเดียว 90บาท ฐานะอย่างหนิงต้องซื้อไป-กลับอยู่แล้ว รถใช้เวลาประมาณ 15-17นาที แต่ขบวนที่หนิงไป ใช้เวลา 20นาที คาดว่าคนขับน่าจะมือใหม่ แต่ถึงยังไงเราก็มาทันเวลา

เมื่อเครื่องบินแตะพื้นรันเวย์ที่ภูเก็จเป็นที่เรียบร้อย หนิงจักแจงโทรหาแฝด ได้ยินจากใหญ่ว่าเล็กนอนรออยู่ หนิงได้ติดต่อรถเช่าไว้แล้ว ราคากันเองมาก 1000/24ชั่วโมง หนิงบอกเช่า วันครึ่งคิด 1500บาท เป็นรถแจ๊สสีเทา ขับสบาย ไม่กินน้ำมัน ที่สำคัญ เจ้าของรถเป็นพนักงานการบินไทย พอรู้ว่าหนิงเป็นพนักงานเหมือนกัน ก็รู้สึกอุ่นใจ (ทั้ง2ฝ่าย)

หนิงจัดแจงขับรถไปหาเพื่อนทันที จากแผ่นที่ดูแล้วไม่น่าจะยาก วันอาทิตย์นั้นอากาศไม่ร้อนจัด แต่ก็มีแดดเป็นระยะ รถเข้าเมืองดูคึกคัก แต่ทันทีที่มีแยกไปป่าตอง รถเข้าเมืองก็บางตาลงทันที นั้นหมายความว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังนิยมป่าตองอยู่ดี

ไม่นานรถก็มาจอดที่โรงแรม หนิงโทรบอกใหญ่ว่ามาถึงแล้ว และไม่ถึงนาที ภาพที่หนิงเห็นคือเล็กวิ่งถลาลงมาจากชั้น2 เพราะดีใจจัดว่าคนขับรถ เอ๊ย เพื่อนได้มาถึงแล้ว เสียง 2สาวเจี๊ยวจ๊าวยิ่งกว่าผู้มาถึงใหม่ซะอีก 2คนกุลีกุจอช่วยหนิงลากกระเป๋าขึ้นชั้น2 เราเข้าลิฟท์มาเสียงเล็กก็ยังดังไม่ขาด ใหญ่บอกว่าเล็กงอแงไม่ยอมออกไไหน เพราะรู้ว่าเดี๋ยวหนิงจะขับรถพาเที่ยว แต่เพราะดีใจมาก เล็กลืมกดลิฟท์ปล่อยให้เรายืนร้อนกันอยู่ในลิฟท์นานเหลือเกิน

หลังจากเก็บข้าวของ เรา3คนก็ออกเดินทาง คราวนี้เรามีรถเป็นพาหนะ โดยหนิงพาใหญ่ไปกินก๋วยเต๋ยวเป็นอาหารกลางวันเบาๆ เพราะตอนเย็นเราจะเล่นของหนักกัน เราไปกินก๋วยเต๋ยวอันดามัน ที่แสนจะมีชื่อเรื่องลูกชิ้น เพราะจะมีลูกชิ้นปลาลวก ทั้งเนื้อปลา และเต้าหู้ปลา แต่จริงๆแล้วหนิงเคยกินร้านข้างๆ ก็อร่อยไม่แพ้กัน พียงแต่วันนี้มีเปิดแค่ร้านเดียว เสร็จจากก๋วยเตี๋ยว ใหญ่ร้องอยากทานโอ้เอว อาหารท้องถิ่นของภูเก็จ จะเรียกว่าอาหารคงไม่ใช่ น่าจะใช้คำว่าขนมมากกว่า โอ้เอวเป็นคล้ายวุ้นสีขาวทำจากเมล็ดโอ้เอว เขามักจะกินใส่น้ำแข็งไส ใส่ถั่วแดง หรือเฉาก๊วย หรือทั้ง 3อย่างรวมกัน

เราขับรถหาร้านจนได้ แล้วใหญ่ก็สมหวัง แต่หนิงก็ว่าไม่ต่างจากน้ำแข็งไสทั่วไป แต่ประวัติขนมชนิดนี้ฟังดูก็ตลกดี เพราะว่าเป็นขนมมาจากปีนัง คนปีนังเรียกบุนทาวบี้ แต่เมืองภูเก็จไม่มีใครเรียกอย่างนั้น มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งแปะที่ขายบุนทาวบี้ ขายให้คนลิ้นไก่สั้น พอกินเสร็จ แปะก็ถามว่า "โฮเหลี่ยวโบ๋" ซึ่งแปลว่า ดีไหม อร่อยไหม คนลิ้นไก่สั้นก็รีบตอบทันควันว่า "โอ้เอี่ยว"
คือโฮเหลี่ยว ซึ่งหมายถึงว่าดี แล้วก็เลยเพี้ยนมาเป็นโอ้เอวในที่สุด ฟังดูแล้วก็ตลกดี

ร้านขนมน่ารักบนถนนดีบุก
มาไม่ถึงครึ่งวัน หนิงก็กินไปหลายอย่าง จนเราได้เวลาย่อย เล็กใหญ่เลยพาหนิงเดินเล่นเมืองเก่า จนเลยเถิดไปถึงบ้านชินประชาอีกครั้ง หลังจากเดินวนไปมา เราก็มาพักร้านขนมน่ารัก ขนมร้านนี้ทำเอง เพราะเจ้าของบอกว่าชอบกิน เลยต้องทำเอง หนิงแอบมอง ถึงเห็นความเปลี่ยนแปลงจากครั้งที่หนิงเคยเห็นเมื่อเกือบ10ปีที่แล้ว ร้านเก๋ๆ น่ารัก มีมากขึ้น อาจเป็นเพราะการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่กำลังมาแรงในตอนนี้

เวลายังเหลือมากมาย หนิงเลยจัดหนักพา2สาวตะล่อนทัวร์ พาไปป่าตอง เราขับรถมุ่งหน้าป่าตอง เล็กใหญ่ ดูตื่นเต้น รถเข้าป่าตองเยอะจริงๆ แถมเส้นทางก็มีเขาสูงหลายลูก เส้นทางนี้เคยได้ยินว่าหลายสิบปีก่อนใช้เป็นเส้นทางแข่งไตรกีฬาภูเก็ต เป็นเส้นทางปั่นจักรยาน ที่ผู้เข้าแข่งขันเดินจูงจักรยานชมวิวซะมากกว่า เพราะถนนชันมาก โชคดีที่ในยุคนั้นหนิงยังไม่ได้ร่วมทีม ไม่งั้นคงมีประสบการณ์การปั่นบนถนนสายนี้เป็นแน่

ป่าตองตอนฝนถล่ม มองไม่เห็นเขาด้านหลังเลย
หนิงจัดแจงพา 2สาวไปหาวิวสวยๆดูป่าตอง โดยหนิงหาร้านนั่งริมทะเลตรงเชิงเขา ชื่อร้านปันหยา เป็นมุมที่เห็นป่าตองทั้งหมด วันนั้นคลื่นสูงและทะเลขุ่น ไม่ใสเหมือนหน้าหนาว อาจเป็นเพราะพายุกำลังจะเข้า เราสั่งอาหารกินเล่นอย่างเดียว เพราะหวังแค่จะมานั่งดูวิว เชิงเขาด้านนี้ก้ไม่มีจุดชมวิวซะด้วย มีแต่รีสอร์ทหรูหราขึ้นเต็มไปหมด และที่กำลังก่อสร้างก็อีกไม่น้อย  หนิงเคยอ่านเจอในหนังสือว่า ในภูมิภาคเอเชียเนี้ย ภูเก็ตจัดเป็นสถานที่ ที่สามารถจะมีการพัฒนาได้อีกเยอะ ก็ลองคิดกันเล่นๆว่า ถึงที่ราบบนเกาะจะเป็นทั้งสวนยางและ รีสอร์ทไปหมด จนไม่คิดว่าจะไปไหนกันได้ ในที่สุด นายทุนสมองใสก็ปีนขึ้นไปสร้างรีสอร์ทกันตามหน้าผาจนได้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ

เราสามคนนั่งคุยกันเรื่องป่าตองสมัยก่อน ครั้งแรกที่หนิงมาเมื่อตอนอายุ 15เห็นจะได้ จำได้ว่าตอนนั้นทั้งหาดมีแต่ผักบุ้งทะเล ไม่มีร้านรวงเยอะอย่างนี้ เป็นหาดที่สงบมาก ขาว คลื่นแรงลูกโตๆซัดเข้าหาดอย่างบ้าคลั่ง แต่เวลาผ่านไปอย่างกับโกหก ทุกอย่างเปลี่ยนไป เสียงเราสามคนคุยกันเหมือนคนแก่ที่ระลึกความหลัง เพราะแฝดเองก้เคยมาในยุคเดียวกัน และเห็นสิ่งที่เป็นความงามตามธรรมชาติเหมือนกัน

หลังจากเรากินกันเสร็จ ไม่นานฝนก็โปรยลงมา แต่ฝนทะเล มาเร็วไปเร็ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยพอให้ได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เราขับรถย้อนมาทางป่าตองเพื่อจะไปหาด กะตะ กะรน เพราะเล็กเรียกร้องมากๆ เส้นทางบางช่วงไม่มีแม้แต่สิ่งก่อสร้าง อาจเป็นเพราะเทศบาลไม่อนุญาต หรือไม่ก็ยากเกินกว่าที่จะปีนไปทำ หรืออีกที ทำไปไม่คุ้ม เพราะไม่ใช่จุดขาย เราขับรถผ่านหาดกะรนก่อน หาดนี้ใหญ่รองจากป่าตอง แต่ความสงบมีมากกว่า หาดทรายยังคงมีความเป็นธรรมชาติมากกว่า เล็กสอดส่ายสายตามองหาที่พักเด็ดๆ หวังจะมาพักในคราวหน้า โรงแรมติดหาดมีให้เลือกเยอะ แต่เท่าที่ดู ราคาคงไม่เบา พอเลยมาหน่อย ก็ดูเริ่มคล้ายพัทยาขึ้นมาบ้าง มีบาร์เบียร์ มากมาย ร้านรวงเยอะแยะ แต่ก็นั้นละ ผู้คนกับรู้สึกสนุกสนาน แขกที่พักบนเขามาหน่อย ราคาที่พักคงถูกลงและก็ยังเดินไปหาดสาธารณะได้อีก

เราผ่านมาอีกหน่อยก็ถึงกะตะ หนิงไม่ได้ขับรถเลียบหาด แต่เรามาชมหาดเมื่อเราขับมาถึงจุดชมวิว ทำให้เรามองเห็นทั้งกะตะและกะรนเลย  ในฤดูท่องเที่ยว 2หาดนี้คงเต็มไปด้วยฝรั่งมังคาน่าดูชม

หน้าตาใหญ่อิ่มเอมมาก
ทีนี้ก็เป็นไฮไลท์ของใหญ่ ใหญ่บอกอยากไปแหลมพรหมเทพ เพื่อระลึกความหลังครั้งกระโน้น ตอนแรกเล็กจะไม่ยอมให้ไป แต่ไหนๆก็ทางผ่าน หนิงเลยจัดให้ ทันทีที่จอดรถ ใหญ่สาวเท้าก้าวขึ้นบันได เพื่อจะเดินไปทาแหลมให้ทันใจ และทันทีที่เห็นแหลม ใหญ่วิ่งหัวฟูต้านลมลงไปทันที หนิงกับเล็กเห็นแล้วอดขำไม่ได้ ใหญ่เหมือนโดนกุมารสิง แสดงท่าทางดีใจมากมาย เราถ่ายรูปกันพอประมาณ แต่ไม่ทันไร ลมแรงๆก็พัดพาเอาเมฆฝนก้อนใหญ่ปลิวลงมาตรงพวกเราทันที่ ฝนโปรยลงมา เรา3คน รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งไทย ทั้งเทศวิ่งหาที่หลบฝนกันจ้าละหวั่น โชคดีที่มีอาคารอยู่แถวนั้น หนิงเลยวิ่งนำไปหลบหลังอาคาร แล้วเราก็เจอพี่ไทยกลุ่มใหญ่นั่งหลบฝนอยู่เหมือนกัน  ฝนตกเพียงชั่วครู่ก็จากไป พวกมนุษย์กลัวฝนทั้งหลายก็เดินออกมาจากที่ซ่อน มาถ่ายรูปกันต่อ  คราวนี้ใหญ่หนักข้อขึ้น ถึงกับปีนลงไปทางแหลมทันที หนิงได้แต่ร้องขู่ เพราะกลัวว่าใหญ่จะเดินไปถึงสุดเลย เรื่องของเรื่องขี้เกียจตามไปกู้เพื่อนขึ้นมา ดีที่ว่าใหญ่เองก็หวั่นๆ เลยไปแค่ ครึ่งทาง  แค่นี้ใหญ่ก็นอนหลับทั้งคืนแล้ว แหลมที่ใหญ่อยากเดินไปเรียกว่าแหลมเจ้า ทำไมชื่อนี้ก็ไม่รู้ รู้แต่ว่ามีต้นตาลขึ้นอยู่เป็นกลุ่มๆ  จริงๆถ้าให้ดี ต้องมาดูพระอาทิตย์ตกทะเลที่นี้ โดยเฉพาะมากับชายหนุ่ม นั่งตากลมผมปลิว เอียงคอเอาหน้าซบไหล่ ชมแสงสีส้มแสดบนท้องฟ้า ก่อนที่พระอาทิตญ์จะกลมกิ๊กเหมือนไข่เป็ด และตกน้ำทะเลดังตุ๋มไป แต่มันไม่มีชายหนุ่มที่ว่า เรา3คนเลยเดินคอตกขึ้นรถกลับที่พักทันที

หลังจากเราชื่นชมบรรยากาศกันเองตามประสาเพื่อนสาว ก็ได้เวลาอาหารเย็นพอดี  เย็นนั้นหนิงเสนอสองสาวให้ลองร้านดังประจำเมืองภูเก็จ นั้นคือ อ่างซีฟู๊ด หรือ โกวอ่างนั้นเอง  ร้านนี้เป็นร้านอาหารพื้นบ้านที่จัดจ้าน และก็มีอาหารทะเลด้วย เราไม่หิวกันเท่าไร แต่สั่งอาหารไป7อย่าง มีน้ำพริกกุ้งเสียบ แกงเหลืองกุ้งยอดมะพร้าวอ่อน ห่อหมก กุ้งผัดกะปิสะตอ หมูคั่วกลิ้ง หอยชักตีน ไข่เจียวปู อาหารแต่ละอย่างล้วนเผ้ดลิ้นทั้งนั้น แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคใดๆ เพราะเราท่านกันหมด จะมีเสียงซี๊ดปากบ้างเป็นครั้งคราว ใหญ่ติดใจหอยชักตีนมาก เพราะใหญ่บอกว่าไม่เคยกินเลย และหอยที่นี้ใหญ่มาก ชักออกมาแต่ละตัว เนื้อล้วนๆ หมูคั่วกลิ้งที่นี้ก็จัดจาน เพียงแต่ที่นี้จะขลุกขลิกกว่าทางนครศรีธรรมราช ส่วนน้ำพริกก็ใช่ได้ แต่เล็กติดใจร้านระย้ามากกว่า ห่อหมกก็จัดว่าไม่น้อยหน้าใครเลย หนิงลองชิมห่อหมกที่ภูเก้ตมาหลายร้าน ส่วนใหญ่อร่อยทุกร้าน คืออาจจะแตกต่างที่รสชาติบ้าง แต่เครื่องแกงถึงทุกร้านเลยทำให้ห่อหมกรสชาติดีไม่แพ้กัน หลังมื้ออาหาร เรากลับไปเดินเมืองเก่าอีกครั้ง ในตอนแรกเรากะจะหาบาร์นั่งเล่นกัน
บรรยากาศยามค่ำคืนในเขตเมืองเก่า
แต่เราก็ไม่เจอร้านถูกใจ เจอแต่ร้านที่แออัดไปด้วยผู้ชาย เพราะเขามาเชียร์บอลกัน เราเลยขอบาย หนิงเดินไปเจอ Guest House แห่งหนึ่งบนถนนถลาง ราคาไม่แพงเท่าไหร่ เพิ่งเปิดใหม่ เจ้าของบอกว่าห้องน้ำในตัว ที่นี้หนิงเองก็ไม่เคยใช้บริการ แต่ก็อยากแนะนำให้ลองกัน เพราะอยู่ในเมืองเก่า ตื่นเช้ามาเดินหาอาหารพื้นเมืองทานน่าจะง่าย พวกเราเดินถ่ายรูปเล่นกันไปแต่เพราะความเหนื่อยล้า เราเริ่มสโลสเลตามๆกัน เลยสรุปว่า ซื้อจาก 7-11 ไปกินดีกว่า คืนนั้น เรานอนหลับเป็นตายเพราะอิ่มจัดนั้นเอง


วันจันทร์ที่ใครๆเขาทำงาน แต่เราไม่ทำงาน

วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่เราจะผจญร่วมกัน ตื่นเช้ามา โรงแรมมีอาหารให้ ทำให้เราขี้เกียจที่จะออกไปหาอะไรทาน หลังอาหารเช้า ใหญ่บอกว่าเขามีศาลเจ้าที่สะพานหิน ให้เราไปไหว้กัน เพราะเขาว่ากันว่าศักดิ์สิทธ์ ศาลเจ้าที่ว่าคือศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง เป็นศาลที่ใช้ประกอบพิธีในเทสกาลกินผัก  ศาลนี้สร้างเพื่อสักการระบูชาพระนางกิ้วเที้ยนเลี่ยนลื้อ ผู้เป็นเทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายศาสนาเต๋า โดยสร้างตามคำบอกเล่าของร่างทรงว่าพระนางต้องการให้สร้างศาลขึ้นที่นี้
 เพื่อที่จะได้มาปกปักรักษาชาวภูเก็จได้


ส่วนสะพานหินนั้น มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีต เดิมทีสะพานหินเป็นท่าเทียบเรือสินค้าและเรือโดยสาร ต่อมาได้เป็นสถานที่ที่ได้มีการขุดแร่โดยเรือขุดแร่ลำแรกของโลก ซึ่งเป็นการขุดครั้งแรกของโลกอีกด้วย ต่อมามีการสร้างอนุสาวรีย์หลัก 60ปีเป็นการระลึกถึงกัปตันเอ้ดเวิร์ด โธมัสไมล์ที่เป็นคนนำเรือขุดแร่มา  ต่อมามีการสร้างศูนย์กีฬา และสวนสาธารณะเพิ่มเติม

เจ้าของร้านอรุณโภชนา
ใหญ่ เล็ก หนิง ไหว้เจ้าตามศรัทธาของแต่ละคน เมื่อไหว้เสร็จ เราก็กลับไปเดินเล่นที่เมืองเก่าอีกครั้ง เราพบความแตกต่างจากเมื่อวานที่เราผ่านมา เพราะวันนี้ร้านร่วงบนถนนเปิดกิจการ ทำให้เราเห็นว่า บนถนนถลาง เป็นแหล่งขายผ้า โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายของหญิงบาบ๋า หนิงเห็นแล้วก้อยากได้ ติดแต่สะโพกผาย แต่เอวไม่คอด ใส่ไปรังแต่จะทำให้ชุดเข้าดูเสื่อมเสีย เราแอบเห็นสตรีชาวภูเก็จแต่งตัวแบบบาบ๋าเดินผ่าน ด้วยผ้าทุ่งสีดำ เสื้อลูกไม้รัดรูปสีแดงสด สวยจริงๆ นอกจากเขาจะขายผ้า บางร้านก็ขายขนมพื้นเมืองแต่เรา 3คนไม่มีโอกาสได้ชิม เพราะเขาเปิด 11โมง ซึ่งเราต้องกลับไปโรงแรมก่อน แต่เราได้มีโอกาสกินโรตีที่ร้านอรุณ โภชนา อยากจะบอกว่าโรตีอร่อยมาก เพราะใหญ่บอก ไม่กิน ไม่กิน ใหญ่ยังกินไปตั้งเยอะ โรตีที่นี้กรอบอร่อย มีทั้งหวานทั้งคาว แต่พี่เจ้าของร้านบอกว่า มะตะบะเนี้ยขึ้นชื่อ เสียดายที่ว่าเราซัดโรตีกับชาชักกันไปเยอะ จนแน่นท้องไปหมด

หลังจากเสร็จกิจในเมืองเก่า เราก้กลับโรงแรมไปเช็คเอาท์ ในช่วงนั้นเองที่ใหญ่ได้ไปเห็นในชื่อวัดพระผุด หรือวัดพระทอง ในหนังสือท่องเที่ยวสักเล่มในร้านหนังสือ ใหญ่บอกว่าน่าไปดู หนิงดูจากชื่อถนนแล้วไม่น่าจะไกล อยู่ถนนเทพกษัตรนี้เอง เห็นดังนั้น พวกเราก็รีบออกจากโรงแรม กุลีกุจอขึ้นรถ ขับหาทางไปทันที แต่ถนนเป็นสายยาว แล้ววัดมันอยู่หัวถนน หรือปลายถนนละ นึกดังนั้น ตำรวจจราจรก็ปรากฏตรงหน้า  หนิงขับรถปราดเข้าไปหาเลย  พร้อมทั้งเปิดกระจก "พี่คะ วัดพระผุดไปทางไหนคะ" ตำรวจหันมามอง พร้อมยิ้มให้ก่อนจะบอกว่า " เลี้ยวขวาข้างหน้า วัดอยู่ขวามือ อยู่ถลาง" หนิงมองตามทางตำรวจ แต่ขวาข้างหน้าของตำรวจมันตรงไปไม่ได้ วันเวย์ งั้นเลี้ยวนี้เลยละกัน หนิงคิด เลี้ยวขวานี้ แล้วเลี้ยวซ้ายไป คงเจอ แต่พอหนิงไปตามทางที่คิดแผนใหม่ มันกลับไม่ใช่ หนิงเริ่มบ่นว่าสงสัยตำรวจไม่รู้ทางแหงๆ แล้ว สามสาวก็เมาท์พี่ตำรวจกันไป เราเริ่มใหม่ที่วัดบนถนนดีบุก เลี้ยวเข้าไปถามเลยดีกว่า  แล้วเราก็เลือกถามพระ เพราะว่าน่าจะรู้ที่สุด แล้วก็ไม่ผิดหวัง หลวงพี่บอกให้ตรงไปอำเภอถลาง แล้ววัดอยู่ขวามือ  นั้นไง พี่ตำรวจบอกเราผิดจริงด้วย เลี้ยวขวาหน้าที่ไหน ก็ขวาที่เราเลี้ยวนั้นละ แล้ววัดก็ไม่ได้อยู่บนถนนถลาง แต่อยู่อำเภอถลางต่างหาก  แต่เมื่อลองคิดกลับไปอีกที บางทีพี่ตำรวจคงไม่ได้บอกผิดหลอก แต่คนฟังนั้นละที่ฟังแล้วสรุปเอาเองว่าอยู่บนถนนถลาง นั้นไงแล้วก็ไปเมาท์ตำรวจกัน พวกเราได้แต่กล่าวคำขอโทษพี่ตำรวจหลังจากแอบว่ากันไปถึงไหน
รถมุ่งหน้าไปอำเภอถลาง เป็นเส้นทางที่เราจะไปสนามบินอยู่แล้ว พอเลยอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร เราก็มองหาแยกไฟแดงทันที พอเจอไฟแดง เลยไปหน่อยขวามือ เราก็เห็นป้าย ให้กลับรถ แล้วเลี้ยวเข้าซอย วัดอยู่ไม่ลึกนัก ฝนเริ่มลงพร่ำๆ แต่ดูแล้วลมแรงเหลือใจ 2สาวรีบลงหน้าโบสถืก่อนฝนจะตกหนัก แต่เหมือนพระอยากให้มา ตลอดช่วงเวลาที่เราเข้าไปกราบ มีแต่ลมแรงกับฝนปรอยๆเท่านั้น

วัดพระผุด หรือวัดพระทอง เป็นวัดที่มีมาแต่ดังเดิม และตำนานก็มีมากมาย เริ่มต้นด้วยเรื่องนี้ก่อน  ว่ากันว่าสมัยก่อนที่ธิเบตมาตีเมืองจีน เซียงไฮ้ ได้ตีเมืองสำเร็จและได้อัญเชิยพระกลับธิเบตองค์หนึ่ง แต่ในขณะที่ล่องเรือผ่านภูเก็จ ได้เกิดเรือล่ม และพระก็จมลงตรงนี้ เมื่อเวลาผ่านไป พระที่จมอยู่ในทะเลก้ผุดขึ้นมาบนดิน เรื่องนี้อ่านแล้วก็งงๆว่าธิเบตมาทำอะไรแถวนั้น
บรรยากาศบริเวณร้านอาหาร
เรื่องต่อมา เป็นเรื่องเด็กเลี้ยงวัว เลี้ยงควายที่เอาเชือกจูงควายไปผูกกับต่อแถวทุ่ง หลังจากนั้นไม่กี่วัน เด็กน้อยนั้นก็ป่วยตาย พร้อมควายตัวนั้นไป พ่อของเด็กเลยสงสัย ตามไปพบว่า หลักที่เด็กน้อยผูกควาย คือเศียรพระนั้นเอง แต่ก็ไม่มีใครขุดพระขึ้นมาได้ เลยสร้างวัด สร้างโบสถ์ทับมาจนบัดนี้  แต่ทั้ง2เรื่องที่เล่าก้เป็นแค่เรื่องตำนานที่เล่ากันมา จะจริงเท็จยังไง ต้องไปดุกันเอง

หลังจากเราไหว้พระเสร็จ ก็ถึงเวลาอาหารเที่ยงของเรา ร้านที่เราจะไปกันชื่อร้านเพียงไพร  ร้านนี้ เป็นร้านอาหารโปรดร้านหนึ่งของหนิง เพราะเกือบทุกครั้งที่ต้องมาทำงานและนอนค้างที่นี้ จะต้องมี 1มื้อที่มาร้านนี้ อาหารร้านนี้มีทั้งอาหารโบราณอย่าง ม้าฮ่อ หรืออาหารท้องถิ่นอย่างแกงปูกับเส้นหมี่ หรือเบือทอด หนิงจัดชุดใหญ่ให้กับแฝด เรียกว่ากินกันอิ่มตายไปข้าง ตบท้ายด้วยขนมสมน้ำหน้าคุณที่เจ้าของร้านเรียกขาน กล้วยทอดแสนอร่อย แต่ขอบอกว่าอย่าได้ตะกละกินไปในคำแรก เพราะอาจต้องซ่อมเพดานเหงือกในทันที

หลังจากอิ่มกันเต็มที่โปรแกรมของเราสามคนก็จบลง หนิงจัดการคืนรถ เราสามคนนั่งเครื่องบินกลับบ้านในตอนเย็น เป็นการออกนอกเมืองที่ทำให้แบตเตอรี่เราเต็มขึ้นมาได้ทันที คราวหน้า3เป็ดน้อยจะไปไหนกับใครต้องติดตามชมคะ

ภาพ  นางฟ้า
เรื่อง  นางฟ้า