วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทริปปั่นสะเทินน้ำ สะเทินบก




ทริปปั่นสะเทินน้ำ สะเทินบก

เรื่องของเรื่องก็คือว่า อยากปั่นจักรยาน touring แก้เครียดจากการงานทั้งหลาย ก็เลยออกอุบายชวนพี่โหนกไปปั่นจักรยานเล่น ตอนแรกก็ยังไม่ตกลงว่าจะไปปัั่นที่
ไหนดี จนกระทั่งเช้าวันพฤหัสเลยตัดสินใจได้ว่าเราจะไปพิสูจน์ความชันแถวเขื่อน
สิริกิติ์กัน ตกลงตามนั้น เราก็เตรียมพร้อมอย่างเคย เสื้อผ้า หน้าผม พร้อม
อาหารการกินพร้อม ดังนั้นแล้วเราก็ออกเดินทางสู่นครสวรรค์ อ้า อย่าแปลก
ใจ ว่าทำไมไปเขื่อนที่นครสวรรค์ อันนี้พัก ครึ่งทาง เพราะ ออกจากกรุ่งเทพ ดึกคืนวันพฤหัส

วันแรกของการเดินทาง 26 กุมภภาพันธ์2553
เช้าวันศุกร์คือวันที่เราเคลื่อนตัวสู่ อุตรดิตถ์จริงๆ เราวาง
แผน ว่าจะปั่นจากอุตรดิตถ์ ข้ามเขาสู่แพร่ แต่พอเอาเข้าจริง เราก็เปลี่ยน
แผน โดยการ เช่าเรื่องหางยาว จากท่าปลา อุตรดิตถ์ไป บ้านปากนาย จังหวัด
น่านแทน เหตุที่เปลี่ยนแผนกลางอากาส เพราะ เรามาถึงค่อนข้างสายมาก
และแดดวันนั้น ร้อนมากทีเดียว เราจึงคิดว่าปั่นบ่ายๆน่าจะดีกว่า

เรื่องเรือเป็นเรือเฉพาะกิจ จึงทำให้เสียเวลาในการหาเรือพอดู ตอนแรกเค้า
หามาให้เป็นแพใหญ่ แต่ใช้เวลา 4 ชม.ในการเดินทางและแพง ซึ่งมันจะทำให้เรา
เสียเวลามากเข้าไปอีก แต่สุดท้ายเคา้่ก็หามาให้จนได้ เราทำการแพคจักรยานลง
เรืออย่างเรียบร้อย

เราจัดการสั่งข้าวกล่อง ให้พร้อม จากนั้นเรือก็ออกจากท่า ท้องน้ำในเขื่อนสิริกิติ์
เต็มไปด้วย อวนจับปลา แสดงว่าที่นี้คงมีปลาชุกชุมทีเดียว แต่ขณะเดียวกัน เราก็เห็นว่า น้ำในเขื่อนแห้งลงอย่างเห็นได้ชัด คนขับเรือบอกว่า ถ้าน้ำเต็ม เราจะมองไม่เห็น เกาะแก่งเหล่านี้เลย



ต้นไม้ริมเขื่อนดูแห้งแล้งทั้งๆที่ก็มีน้ำอยู่รอบด้าน
เรานั่งเรือออกมา ตอนบ่ายโมง คนขับเรือชี้ชวนดูตามหลืบเขา ที่เป็นเส้นทางไป
หมู่บ้านต่างๆ มีหมู่บ้านหนึ่ง ขึ้นกับอุตรดิตถ์ แต่ก็ไม่มีทางออกต้องใช้ทางออก
ทางแพร่ น่าตลกดี คนเรือบอกว่า หมู่บ้านนี้ตัดไม้เยอะด้วย ถ้ามีทางออกทางรถ ไม้คงถูกตัดออกจนไม่เหลือ เวรกรรม

เราทั้งนั่ง ทั้งนอน ก็ยังไม่ถึงที่ซะที เล่นเอาเมื่อย ตามๆกัน
มาเล่าเรื่องปากนาย ชาวปากนายเดิมอาศัยอยู่บนผืนดินที่เป็นเขื่อนในปัจจุบัน
เมื่อมีการสร้างเขื่อน ชาวบ้านได้ย้ายไปอยู่ริมเขื่อนแทน และได้ดำรงชีพด้วยการหาปลา และแพท่องเที่ยว แต่สภาพแพที่เห็นค่อนข้างเก่าและโทรม



เราสองเตรียมตัวมาดีสำหรับการลงเรือ เพราะได้ยินว่าไม่มีหลังคา เราจึงเอาถุงแขน หน้ากากมาใส่ กันแดด เรียกว่า พร้อมสู้แดด

แต่สุดท้ายพี่โหนกก็ขอนอนเอาแรงก่อนจะปั่นออกจากปากนาย ไปนาหม่ืน และนาน้อยตามลำดับ

จากเขื่อนเราต้องปั่นผ่าน อำเภอนาหมื่น ก่อน แล้วถึงจะเป็นนาน้อย เราเดาเล่นๆว่า ชื่อนาหมื่น เพราะมีนาเยอะ กว่า นาน้อย แน่ เพราะนา น้อย มีเขาใหญ่ๆ ข้อเท็จจริงเป็นไง ยังหาคำตอบไม่ได้


จากเขื่อน เราสองคนปั่นจักรยานด้วยความหึกเหิม โดยหารู้ไม่ว่าทางข้างหน้าช่างสาหัสอะไรอย่างนี้ พวกเราปั่นด้วย เฟืองที่คิดว่า
เบาสุด สบายสุด แต่นั้นก้ยังทำให้รู้สึกว่าทรมานอะไรอย่างนี้ เพราะน้ำลดมากนั้นเอง ทำให้ทางมันชันมากขึ้น เราปั่นไป บ่นไป จนพ้นช่วงที่คิดว่าชัน แล้วเราก็ชักภาพกันอย่างเมามัน
ขณะนั้น มีรถกระบะผ่านมา แล้วลุงก็ถามว่า “ ไปด้วยกันไหม”
แน่นอน เราสองย่อมต้องปฎิเสธเป็นธรรมดา เพราะแหม เพิ่งปั่นเองนะ อีกเดี๋ยวก็ลงเขาแล้ว นั้นละเป็นบทเริ่มต้นในการพิสูจน์

จากนั้นไม่นาน เราก็เริ่มรู้ตัวแล้วว่า มันไม่ง่ายอย่างที่คิด ไอ้ที่ว่าลงเขานะ
ไม่มี มีแต่ขึ้น และขึ้น ลงนิดหน่อยพอให้ตกใจเล่น

ถึงกระนั้นพวกเราก็ยังคงปั่น และถ่ายรูปอย่างไม่สะทกสะท้าน(เพราะไม่มีรถให้โบกตั้งหาก)
ดูได้จากพี่โหนกปั่น เรียกว่าออกแรงทั้งตัว ไม่ใช่แค่ขาอย่างเดียว
ถนนหนทางเรียบดี ไม่มีหลุมบ่อ และไม่มีใคร นอกจากสองเราเท่านั้น ตอนนั้นเราเริ่มปรึกษากัน
ว่าจะเอาอย่างไง เพราะวันนี้เราตั้งเป้าว่าต้องไปนอนที่อุทยานศรีน่าน ซึ่งออกจากตัวเมืองนาน้อยไปอีก 20กว่าโล แล้วเวลานั้นก็4โมงกว่าๆแล้ว หมายความว่า ยังไงเสียก็ต้องโบก แต่ว่าจะโบกไปได้ไกลแค่ไหนเท่านั้นเอง
แล้วสวรรค์ก็มาโปรด เมื่อเจอผู้รับเหมาใจดียอมรับเรา หลังจากพี่โหนกออกแรง
โบกอย่างแรง เราติดรถมาลงแค่นาหมื่น แต่นั้นก็ทำให้เราเห็นว่าหนทางที่เรา พลาดช่างน่าสยองแค่ไหน เขา เขา และเขา

เราสอง แอบยิ้มดีใจเพราะก็ไม่ต้องเหนื่อย หลังจากร่ำลาผู้รับเหมาใจดี เราก็เริ่มปั่นอีกครั้ง ปั่นไปก็โบกไป จนในที่สุดเรามาถึงนาน้อย แต่เวลาขณะนั้นก็
5โมงเย็นแล้ว เราปรึกษาแล้วตกลงว่า ถ้าไม่มีรถขึ้นบนอุทยาน เราก็ต้องเช่า และนั้นละ เราหารถไปส่งได้ แบบเสียตังค์ แต่เขาก็ใจดีที่จะไป เพราะทางไปคือขึ้นเขา เราจัดแจงหาเสบียง กันเหนียว แล้วเราก็นั่งรับลมกระบะหลังเหมือนเคย

เรานั่งชมวิวไปเรื่อยๆจนเข้าเขตอุทยาน พี่โหนกชี้ชวนให้ดูไฟป่า เห็นเป็นสีแดงๆ
ไกลลิบๆ ทางขึ้นอุทยานดูไม่ชันมาก จนถึงทางที่เข้าผาชู้ ทางนี้ดูๆแล้วก็ไม่มี
อะไร แต่ว่าถ้าปั่นออกเพราะนี้หมายความว่าเราต้องปั่นขึ้น อย่างชันทีเดียว
แต่เอาเถอะ มันเรื่องของอนาคต

ที่อุทยานเราสองคือแขกชุดเดียวของอุทยาน แต่ก็ไม่ได้น่ากลัวเพราะมีเจ้าหน้าที่
อยู่เป็นเพื่อน
คืนนั้นเราสองนอนดมควันไฟก่อนจะหลับไป หรือว่าเป็นเพราะเราเมาควันป่าก็
ไม่รู้
วันที่สอง 27 กุมภาพันธ์ 2553
เช้าวันรุ่งขึ้น เราตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงเจี๊ยว
จ๊าวของนักท่องเที่ยว ที่ขึ้นมาดู
พระอาทิตย์ขึ้นที่ผาชู้ เราพักที่ผาชู้ ผาที่มีตำนานความ รักของหนุ่มสาว 3คน ที่ตัดสิน
ปัญหารักสามเส้าไม่ได้ แต่โชคดีของเราที่เมื่อคืนไม่เจอ
วิญญาณรักวิญญาณหลอน

นักท่องเที่ยวหลายคนมาทักเพราะแปลกใจที่เจอคนขี่จักรยานมาบนนี้ แต่เขาหารู้ ไม่ว่าเราได้ทำการ โบก มาแล้ว อิอิ
หลายคนเห็นก็อยากจะปั่น แต่ก็กลัวหลายอย่าง เช่น กลัวล้ม แต่นั้นคือ basicของคนขี่จักรยานเลย คือล้มให้ชิน ไม่ใช่ล้มให้เป็น พอชินแล้วก็จะรู้วิธีไม่ล้มเอง
เราคุยกับหลายๆคนพอหอมปากหอมคอ ก่อนจะเตรียมตัวที่จะปั่นออกจาก
อุทยาน ก็อย่างที่บอก เมื่อวานตอนนั่งรถเข้ามา เราได้เห็นว่าทางเข้าผาชู้เป็น
ทางลงชัน นั้นหมายความว่าเราก็ต้องปั่นขึ้นแบบชันๆ นั้นเอง งานนี้ไม่ธรรมดา แต่เราก็ปลอบใจกันว่า ปั่นขึ้นนิดเดียว นอกนั้นลงยาวเป็น 10โลเลย ว่าไงก็ว่าตามกัน เราเริ่มปล่อยตัวออกจากที่พักลงมาได้ระดับนึง จากนั้นเริ่มก็ขยับมือเปลี่ยนเกียร์กันสนั่นป่า เปลี่ยนจน เป็น 1ต่อ 1
ขาเราเริ่มกด ไม่เป็นจังหวะ แต่เสือสู้ไม่ถอย กดเข้าไป กดเข้าไป รถตู้นักท่องเที่ยวผ่านไปหลายคัน เราก็ยังคงกดต่อ

ในที่สุด ความพยายามของเราก็ถึงที่สุดเมื่อ หมดแรงแล้ว เราสองปลดเท้าออกจากบันไดถีบอย่างเร็ว แล้วเอา เท้ายันพื้นพร้อมกำเบรคหน้า
อย่างแน่น แน่นอน ตรงนั้นถือว่าชันมาก แม้ว่าจะไม่กี่เมตรก็จะถึงจุดที่สบายกว่า

เราหยุดพักหายใจ หายคอ เมื่อดีแล้ว เราก็เริ่มถีบต่อ ทางยังคงขึ้นเขาชนิดที่พอปั่นได้ไม่ยากนัก แต่ว่าสัมภาระของเรา ก็คืออุปสรรค
ที่สำคัญที่ทำให้เรา เปลี่ยนแผนอยู่บ่อยๆ การมาtouring แบบนี้ทำให้เรารู้จัก ปล่อยวางมากขึ้น ปล่อยวางที่ว่าคือการไม่เอาสิ่งของที่ไม่จำเป็นไปด้วย เพราะ
หนักมาก เวลามันบวกกับน้ำหนักรถ

หลังจากเราผ่านการปั่นเขามาได้ช่วงนึง ก็คงจะเป็นช่วงที่เรารอคอยนั้นคือ การปั่นลงเขา ปั่นลง คงพูดอย่างนี้ไม่ได้ เพราะแทบจะไม่ได้ปั่น แค่ปล่อยให้ไหลไปเรื่อยๆ อ้าปากรับลม เป็นการช่วยเบรคได้บ้าง เราลงมายัง
พื้นราบอย่างปลอดภัย เราสองก็ปั่นแบบ chill chill ชมบ้านเรือน จนมาผ่านวัดเก่า 300ปี ชื่อวัดใหม่ วัดนี้บูรณะใหม่ สวยสดงดงาม จนเราอดไม่ได้ที่จะไปเข้าชม ที่นี้เอง เราได้รู้จักสถานที่แห่งนึง ซึ่งนำพาให้เราได้พบกับทิวทัศน์สวยงาม ขนาดที่ว่าพี่โหนกบอกว่า “ to die for”ทีเดียว
ความงดงามของวัดใหม่คือ พญานาค
ที่บันไดทางเข้าโบสถ์ เพราะฝีมือที่ทำ
ช่างละเอียดและพิถีพิถันมาก ส่วน
ตัวนาค มีอีกตัวคาบอยู่ ดูแล้วก็ต้อง
บอกว่า ไม่เสียดายที่ได้จอดถ่ายรูป
นอกจากนาคแล้ว ใบเสมารอบวัดก็
ตกแต่ง สวยงาม บริเวณลานวัด พระเณร ช่วยกัน ดูแลสถานที่ให้เอี่ยม ตา

ที่นี้เราเจอหลวงพี่รูปหนึ่ง เราบอกท่านว่าเราจะไปแพร่กัน โดยจะปั่นผ่านเขาไป ท่านก็เอ่ยชื่อ “ขุนสถาน” ชื่อนี้เป็นชื่อใหม่ และเป็นชื่อที่เราจะไม่อาจลืมมันได้เลยชั่วชีวิต เพราะที่แห่งนี้นี่เอง ที่พี่โหนก หลงรัก แบบโงหัวไม่ขึ้น ‘to die for’ หลวงพี่บอกว่า เขาใหญ่และชันนะ แต่เรายืนยันว่ายังไงเสียก็จะต้องไปให้ได้

ก่อนออกจากวัดเราได้เดินชมความงามจนทั่ว แล้วเราจึงนมัสการลาหลวงพี่
เราปั่นกันเย็นฉ่ำใจมาเรื่อยๆ เราหาข้าวเช้าทาน และวางแผนการปั่นต่อ
เราสองตกลงจะปั่นดูเสาดินอันเลื่องชื่อ และจะแวะพระธาตุพลูแช่ก่อน แล้วค่อยโบกรถขึ้นไปบนขุนสถาน เพื่อไหลลงสู่แพร่ ตกลงตามนี้แล้วเราก็ ทำตามแผน เราปั่นไปพระธาตุ ชมความงาม จากนั้นก็มุ่งหน้าสู่ เสาดิน
แต่กว่าเราจะไปถึงเสาดินได้ก้เรียกว่าเดือดเอาเหมือนกัน เพราะความเย็นยามเช้า มันหายไปแล้ว เหลือแต่ความร้อนเข้ามาแทน ตอนนั้น ชีวิตเริ่มท้อแท้อีกครั้ง ถึงขั้น เรียกพี่โหนก ให้กลับกัน แต่สุดท้ายเราก็ไปจนถึง

เสาดินที่ว่า หลายคนบอกว่าเหมือนกับแพะเมืองผี เพียงแต่ว่ามีขนาดที่เล็กกว่า เราอยู่ชื่นชมไม่นาน เพราะเวลานั้นร้อนเต็มที
เราถามทางกลับเมืองที่ง่ายกว่าขามากับเจ้าหน้าที่ ทำให้เรารู้ว่าเราออมมาไกลพอดู เราปั่นออกจากเสาดิน ก่อนถึงเมืองเราได้นั่งดื่มกาแฟ
ร้านนี้น่าจะเป็นร้านเดียวในอำเภอ และก็เป็นที่ๆมี ที่พักสำหรับคนเดินทาง ตอนที่นั่งที่ร้าน เจ้าของร้านแนะนำให้พักที่ขุนสถาน เหตุนี้เองที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในหมู่ผู้ร่วมทาง เพราะพี่โหนกอยากจบที่แพร่ ในขณะที่เราอยากปั่น จบที่แพร่ก็ดี แต่ถ้าไม่ ขุนสถานคือที่รองรับอยู่
เราปั่นออกจากร้านกาแฟ บ่ายโมงตรง เรายังคงปั่นเรื่อยๆฝ่าความร้อนที่ยังพอมีลมอุ่นๆโชยให้หายใจคล่องขึ้น เราปั่นผ่านหมู่บ้าน หลายหมู่บ้าน ในขณะเดียวกัน เราก็เริ่มมองเห็นว่าเราไต่ระดับ
สูงขึ้นเรื่อยๆ ตอนนั้นเราเริ่มมองเห็นว่าถ้าไม่โบกเสียแต่แรกคงจะโบกไม่ได้ เพราะมีรถน้อยคันที่ผ่าน และกระบะ ว่างๆก็หายากทีเดียว จังหวะนั้นเองที่พี่โหนก ยอมสละขาอ่อน เปิดโชว์เพื่อเรียกลูกค้า ไม่ใช่ โบกกระบะให้จอด กระบะชาวบ้านใจดี รับเราขึ้นมา ถึงแม้ว่าปลายทางจะไม่ใช่ยอดเขาขุนสถาน แต่ก็ช่วยลดระยะลงได้ เราดีใจมาก
เพราะอย่างน้อยก็ safe แรงไว้ในการหน้า

หลังจากเขาส่งเราไม่นาน เราก็ทำการโบกอีกรอบ คราวนี้เจอคนใจดีรับ เพราะคงเห็นท่าทางขี่กระงอดกระแงดขึ้นเขาของเรานั้นเอง คราวนี้เราsafeไปได้หลายโลทีเดียว เขาใจดีเลี้ยงน้ำเราแล้ว เขายังเสนอที่จะไปส่งเราที่ขุนสถาน แต่ความไวของปาก กับความอยากลองของ
เลยตอบปฎิเสธ
แล้วของเค้าก็แรงจริงๆ ในตอนนี้เองที่พี่โหนกกับเราต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่าง
และแน่นอน เราขัดแย้งกันเอง เป็นเรื่องปกติ พี่โหนกให้เราตัดสินใจ หนิงเลือกที่จะปั่น เพราะอยากรู้ให้แน่ว่าไอ้ที่เขาว่าชันนะ มันซักแค่ไหนกัน แค่ไหนนะเหรอ ก็แค่ลงจักรยานแล้วเข็นไง สรุปว่าเราปั่นกันช้ามาก 3กิโล ต่อชั่วโมง เราเริ่มคิดที่จะโบกรถอีกครั้ง แต่ว่ารถที่ผ่านมาล้วนแต่มีสัมภาระหรือไม่ก็รถเก๋ง ตอนนั้นใกล้จะ5โมงเย็นแล้ว แต่ความร้อนจากการออกแรงก็ยังคงปกคลุม ร่างกายเราอยู่ ทั้งเหนื่อยทั้งคาดหวังว่าจะมีคนมารับ ช่วงเวลานั้นทรมานมาก จากความขัดแย้ง และเหนื่อยล้า ที่สุด ก็มีกระบะผ่านมา เป็นกระบะบรรทุกชาวม้งเพื่อกลับหมู่บ้าน หมู่บ้านที่ว่าชื่อขุนสถาน ชื่อนี้ช่างไพเราะจับใจเราในขณะนั้นมาก ตอนนั้นเองพี่โหนกก็เริ่มเกิดอาการ ตาถามหา(ตะคริว) เราขึ้นรถมาพร้อมกับม้งที่อยู่กระบะหลัง เราถามเขาถึงอุทยานขุนสถาน อันเป็นชื่อเดียวกับหมู่บ้านว่า อีกไกลไหม แล้วอยู่ส่วนไหนของเขา ม้งผู้เฒ่าบอกว่าอยู่ไม่ไกล อีกแค่3โลเอง และก็อยู่ส่วนบนสุดของเขา เราจึงขอให้เขาพาเราไปส่งที่นั้น เพราะเราอาจจะนอน หรือถ้าไม่ เราอาจจะไหลลงอย่างสบายใจ

ม้งใจดีพาเราไปส่ง พี่โหนกส่งสินน้ำใจให้ม้ง ม้งจะไม่รับ แต่เราบอกว่า
ค่าน้ำมัน เขาถึงยอม
เราสองจูงจักรยานมา
จอด แล้วนั่งพัก เราบอกพี่โหนกว่าพัก ที่นี้เถอะ เพราะดูๆแล้ว ก็น่าจะสะอาด และดี
เราใช้เวลาพัก และสุดท้ายก็ตัดสินใจ พักที่นี้

เราจองเต็นท์ 2 หลังเล็ก จะได้สบายๆ แต่เราไม่มีอาหารเย็น ดีที่ว่าพี่โหนกสั่งข้าวหมูกรอบมาตั้งแต่เช้า เราจึงมีอาหารทานกันตอนเย็น
เราจัดแจงอาบน้ำ ซักผ้า แต่พี่โหนก ออกเดินถ่ายรูป สถานที่ ที่ไม่สามารถปฎิเสธ ได้ว่า ดูกว้างไกล ยิ่งหใญ่ สมกับความเหนื่อยล้า มานะที่เราอดทนปั่นกันมา

พี่โหนกเดินถ่ายรูป จนเจอ2สาวที่เห็นเราปั่นที่นาน้อย 2สาวนั้นเดินทางมาแบบ back pack เรียกว่าพี่โหนกทึ่งไปเลย 2สาวพักเต็นท์คนละฟากกับเรา เขาได้วิว พระอาทิตย์ตก แต่เราได้วิวพระอาทตย์ขึ้น นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคุณลุง คุณป้า วัยเกษียณ มากันคณะใหญ่ ซึ่ง ลุงป้า ได้จองบ้านพักเอาไว้ เราทำการสั่งอาหาร แต่เจ้าหน้าที่แม่บ้านบอกว่าต้องสั่งจองล่วงหน้า นั้นไง งานเข้า แต่ถึงอย่างไร เราก็ได้กินข้าวหมูกรอบไปแล้ว

หลังจากเราอาบน้ำเสร็จ นักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นก็ทยอยกันมา ที่มาอยู่ใกล้กับพวกเราก็มี เป็นครอบครัวใหญ่ มากัน 2 คันรถ มีทั้งเด็กและผู้สูงอายุ มาด้วย ช่างดูแล้วอบอุ่นดีจัง เท่าทีเห็น พวกเขาช่วยกันกางเต็นท์ ทำอาหาร ร่วมด้วยช่วยกัน มันทำให้เห็นว่าการออกมา
จากบ้านเพื่อกิจกรรมอย่างนี้จะส่งเสริมให้ครอบครัวแข็งแรงทีเดียว
ที่สำคัญ เห็นอาม่ามาด้วย ยิ่งดีใหญ่ ที่เห็นความอบอุ่นในครอบครัวอย่างนี้
นอกนั้น คนอื่นๆก็กางเต็นท์กันไกล จนไม่อาจสืบรู้ความเป็นไปได้

พระอาทิตย์เริ่มตก พี่โหนกนั่งเหม่อลอยรับลมเย็น หลังอาบน้ำ เราต้องใส่
เสื้อแขนยาวเพราะอากาศเย็น ช่างแตกต่างจาก พื้นล่างไม่มีผิด

ลมข้างบนนี้ค่อนข้างแรง
เพราะเป็นสันเขา หน้าหนาว
อากาศจะเย็นถึง6 องศา หน้าร้อน จะอยู่ประมาณ 20 กว่าๆ
เรารับลมดูฟ้าจนแน่ใจว่าวันนี้
คงไม่เห็นพระอาทตย์แดงแน่
แต่พี่โหนกก็หาวิว ในการชักภาพสวยๆ จนได้
พี่โหนก จัดว่าเป็นคนถ่ายรูปสวยคนนึง หลายครั้งที่เราใช้วิธีขโมยซีน แต่พี่โหนกก็ไม่ว่า ออกจะภูมิใจด้วยซ้ำ

คืนนี้พระจันทร์ใกล้เต็มดวงเต็มที่เพราะวันพรุ่งนี้จะเป็นวันมาฆบูชา เราได้นอนดูพระจันทร์ 2 คืนเต็มๆ แต่น่าแปลก จากการสังเกตุ พระจันทร์บนเขา ทำไมถึงเล็กกว่าพระจันทร์บนพื้นราบ เพราะวันต่อมา เห็นที่พระธาตุช่อแฮ ยัง ใหญ่กว่าบนดอยตั้ง เยอะ







พี่โหนก บอกว่า
ที่ไม่อยากให้ปั่น ขึ้นเพราะห่วง เรื่อง safety ซึ่ง เราก็คิดว่าเห็น ด้วย แต่ตอนนั้น เราคิดว่า นอน บนนี้ก็ได้ เป็น เรื่องที่ไม่ได้ตก ลงกันแต่แรก

หลังจากเดินถ่ายรูปจนทั่ว เราได้รับเชฺิญจากเจ้าหน้าที่แม่บ้านให้มารับประทาน
อาหารเย็น แม่บ้านบอกว่า ลุงๆ ป้าๆ ทานอาหารไม่มากนัก จึงมีพอที่จะแบ่งปัน เรา เรารู้สึกดีใจที่แม่บ้าน ดูแลเราสองได้ดี ไม่มีลำเอียง เรานั่งคุยกับเจ้าหน้าที่ จนได้ความว่าอุทยานแห่งนี้มีเนื้อที่2 แสนกว่าไร่ และ เพิ่งจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ อย่างไม่เป็นทางการ นั้นยิ่งทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้มาที่นี้เป็นพวกแรกๆ แบบไม่ต้องรอคนส่งเมล์ มาบอก นอกเหนือนี้เจ้าหน้าที่เล่าว่า แถวนี้ชาวบ้านคือม้ง และก็มีบางคนมาเป็นเจ้าพนักงานที่อุทยานด้วย ก่อนจากกันคืนนั้น แม่บ้านยังใจดี บอกใ้เราสองคนมาทานข้าวต้มตอนเช้าซึ่งเขาจะแบ่งไว้ให้

คืนนี้เราเข้าเต็นท์นอนเร็ว เพราะเหนื่อยล้า จากการปั่นทั้งวัน คืนนี้เจ้าหน้าที่เปิด

ไฟให้ทั้งคืน เพราะมี
นักท่องเที่ยวมากัน
เยอะ



วันที่สาม 28กุมภาพันธ์ 2553 วันมาฆบูชา
รุ่งขึ้นเราตื่นเพราะแสงและเสียงจากชาวเราที่รอดูพระอาทิตย์ขึ้น วันนี้ไม่มีขาจรขับรถขึ้นมา มีแต่พวกที่พักอยู่เมื่อคืนด้วยกัน เราไม่ได้เจอทะเล หมอก เพราะไม่ใช่ช่วงหน้าหนาว แต่ว่าบรรยากาศข้างบนก็สวยสดชื่น ทำให้ เราอยากที่จะปั่นรับลมกันแต่เช้า เราจัดแจงแต่งตัวเก็บของ และแน่นอนเราไปทานข้าวต้มตามคำเชิญของแม่บ้าน แต่วันนี้วันพระ หนิงเลยได้แต่นั่งมองพี่โหนก ซดข้าวต้มอย่างเอร็ดอร่อย แม่บ้านตักข้าวต้มให้เรา หน้อนึง บอกว่าวันนี้ต้องปั่นทั้งวัน กินเยอะๆจะได้มีแรง เราสองรู้สึกซึ้งใจ เจ้าหน้าที่บนนั้นอย่างมาก เรารู้สึกกันว่าไม่เคยเจอเจ้าหน้าที่ใจดีอย่างนี้มาก่อน

เมื่อได้เวลาเดินทาง พวกเราอำลา เจ้าหน้าที่ และครอบครัวเพื่อนบ้านที่กำลังเก็บ ของเพื่อจะย้ายฐานเหมือนกัน ก่อนจากกัน เจ้าหน้าที่ว่า ควรไปดูต้นชมภู ภูคาที่ ศูนย์วิจัยต้นน้ำ หนิงบอกพี่โหนกว่าอยากดูเพราะไม่เคยเห็นและเป็นทางผ่าน พี่โหนกตกลง เราปั่นลงมาด้วยความสบายใจ เพราะจากการสืบค้น พบว่า วันนี้เราจะไหลลงเป้นส่วนใหญ่
หลังจากได้ดูต้นชมภู ภูคา ซึ่งถ้าให้ดูไกลๆ ก็คงไม่ต่างจากตันกัลปพฤกษ์ ที่เห็น ในป่าเลย เพราะสีเป็นสีชมพูเหมือนกัน เพียงแต่กลีบดอกจะบาง ใบจะเล็ก
ต้นไม้ชนิดนี้มีเพียงไม่กี่ที่ในน่าน ที่ขึ้นชื่อคือ ดอยภูคา และจะมีช่วงบานในเดือนนี้


วิววันนี้เป็นวิวเขา ที่ใหญ่ สมกับชื่อขุน สถาน พี่โหนกหยุด ชักภาพเป็นช่วงๆ บางช่วงเราเจอไฟป่า ที่กำลังปะทุ ดูแล้วหน้ากลัวทีเดียว อากาศเย็นช่ำใจ เลยช่วยให้หายใจได้คล่อง
เราไหลลงเขาอย่างมีความสุข จะมีออกแรงปั่นบ้างช่วงเท่านั้น ทางขึ้นขุนสถานมีอยู่2ด้าน ด้านแรก คือที่เราปั่นกันเมื่อวาน ระยะทางไม่ยาวเท่าไหร่ เป็นเหตุให้มีความชันทีเดียว ส่วนอีกทางคือทางจากแพร่ คือที่ที่เรากำลังไหลลง ทางนี้จะยาวกว่า แต่ชันน้อยกว่า และผิวถนนเนียนกว่าทางเมื่อวาน ทิวเขาที่เราไหลลงมาดูสลับซับซ้อน ซ่อนตัว อยู่ในหลืบเขา ยิ่งดูก็ยิ่งตื่นเต้น ว่าน่าน ช่างเป็นจังหวัดที่เต็มเปี่ยมไปด้วย ขุนเขา รอบด้าน เมื่อมองไปไกลๆ จะเห็นแสงที่ทอ ย้อนมาสวยงาม มาก แต่เสียดายว่า เขาที่นี้ ส่วนใหญ่เป็นเขาหัวโล้น เนื่องจากในอดีต ชาวเขาได้ทำการปลูปฝิ่นและ ไร่เลื่อนลอย









เรา ปล่อยให้จักรยานไหลลงเขาไป เรื่อยๆ พร้อม ปล่อยใจ และอารมณ์ ให้สบายๆ รถขับสวนมาหลายคัน และผ่านเราไปหลายคัน คราวนี้เราไม่สนใจที่จะดูว่าเป็นกระบะ หรือไม่ พวกเราเข้าโค้งซ้ายขวา อย่างเมามัน แต่ก็เต็มไปด้วยความระมัดระวังด้วย เพราะการที่จะออก touring ให้สนุก ต้องมีความปลอดภัยอยู่ด้วย อย่างที่พี่โหนกห่วงอยู่เสมอ เราไหลลงจนในที่สุด เราก็ถึงทางแยก อันเป็นจุดสิ้น สุดของการลงเขา จากจุดนี้มีทางเลือกให้เราสองต้องตัดสินใจ ตอนนั้นมีชายหนุ่มขี่รถเครื่องผ่านมา เราตัดสินใจถามทาง ได้ความว่า ถ้าเราไปทาง ร้องกวาง เราจะไม่เจอเขา แต่เป็นทางใหญ่ หากแต่เป็นอีกทาง จะเป็นเขา และจะเสียเวลามากกว่า คราวนี้เราตัดสินใจด้วยกัน และเห็นพ้องกันว่าควรจะไปทางเล็ก เพราะทางใหญ่ จะมีแต่รถ และอากาสไม่บริสุทธิ์

เราเลี้ยวซ้ายทันที โดยเราจะผ่าน ห้วยเอียด และมุ่งหน้าไป ปากห้วยอ้อย ในขณะนั้น เราปั่นผ่านหมู่บ้าน และไร่ สวนของชาวบ้าน จะสังเกตุเห็น สวนยาง อยู่มากทีเดียว และต้นก็ใหญ่อีกไม่นานก็กรีดได้แล้ว ทำให้เห็นว่า ตอนนี้สวนยาง ได้ย้ายจุดจากภาคใต้ มาทางเหนือและอีสานแล้ว ซึ่งข้อดีคือ ยางจะช่วยให้เขาหัวโล้นทั้งหลาย ดูดกขึ้นได้
กว่าจะตัดต้น ก็ใช้เวลา
หลายสิบปีทีเดียว
นอกจาก สานยาง เรา ยังได้เห็นสวนป่าชุมชน ที่ชุมชนได้ช่วยกันอนุรักษ์ ไว้ พูดถึงอนุรักษ์ ตอนปั่นจากนาน้อยขึ้น ขุนสถาน เราเจอเขตอนุรักษ์ ต้นน้ำ แต่เรามองเข้าไป เห็นแต่ความแห้งแล้ง เลยพูดกันว่า คนเราวัวหายล้อมคอกจริงๆ

กลับมาสู่เส้นทางของเราสอง เราปั่นขึ้นลง เนิน อย่างสนุกสนาน และเริ่มขำขันกับเขา ที่ชาวบ้านเตือน เราปั่นผ่านป่าชุมชน ตรงนี้แหละที่เสียงคุยเราเริ่มเงียบลง เพราะเราเริ่มออกแรงปั่น กด ควงขา อย่างเมามันส์ เรามองหาจุดสูงสุด เพราะจะได้ไหลลง แต่ก็ไม่เห็น ทางคดเคี้ยว ทำให้เราเริ่มกังวลถึง เขาที่เค้ากล่าวถึง
เราปั่นจนที่สุด ความร้อนจากพื้นราบทำให้เราต้องหยุด เติมพลังงาน ทั้งน้ำ ขนม จนแน่ใจว่าไปต่อได้ เราก็เริ่มไปต่อ คราวนี้นอกจากเขา เรายังเจอผิวถนนที่เสีย
หายขรุขระ เป็นเหตุให้เราไปได้อย่างช้าๆ
เราปั่นไปเรื่อยๆ ตามจังหวะหัวใจ และแรงที่มี เราเริ่มมีความหวังเมื่อผ่านห้วยเอียด เพราะอีก6-7กิโล ก็ถึงปากห้วยอ้อย นั้นหมายถึงเราเข้าสู่ทางราบ แต่เรื่อง ไม่เป้นอย่างนั้น เพราะจากห้วยเอียด ไปปากห้วยอ้อย มันช่างสาหัสอะไรอย่างนี้ เราใช้ความพยายาม (จริงๆ ไม่มีรถกระบะผ่านมารับ) จนสุดท้ายเรามาเจอแยกไปปากห้วยอ้อย ตอนนี้หนิงดีใจมาก เพราะเรากำลังจะลงที่ราบ แต่พี่โหนกบอกว่าต้องข้ามเขาข้างหน้าไปอีกลูก หนิงก็เถียงว่า ไอ้ที่เห็นนะ เราเพิ่งผ่านมา ไม่ใช่ซะหน่อย แต่ที่ไหนได้ เขานั้นแหละที่เราต้องปั่นขึ้น แต่ยังก่อน มันไม่ได้หมดแค่นั้น เพราะเราต้องปั่นไปอีกไม่รู้กี่เขา แต่โชคยังดีที่เราปั่นบนสันเขาเป็นหลัก จึงไม่ลง และขึ้นมากนัก แต่ถึงอย่างนั้น เราก็เริ่มสู้แดดไม่ไหว เวลาตอนนั้น 11 โมงแล้ว แดดเริ่มแสดงความก้าวร้าวใส่เรา เราจอดและเติมอาหารกันอีกครั้ง ก่อนหน้าตอนที่เราผ่านแยกปากห้วยอ้อย มีรถกระบะผ่านเราไป แต่ด้วยความที่เราหยิ่ง บวกกับคิดว่าอีกไม่ไกลเราก็จะถึงแล้ว เราก็ไม่โบก เป็นเหตุ ให้เราใช้เวลาบนเทือกเขานี้นานแสนนานทีเดียว

ในขณะที่เราสู้กับความร้อนของแสงแดด และความชันของสันเขา เราก็พบชายใจดี ขับกระบะผ่านมา พี่ชายใจดีคนนี้เพิ่งกลับจากการไปเก็บไข่มด ในสวน และก็กำลังจะกลับบ้านซึ่งคือทางผ่านของเรา เราขอให้พี่ชายไปส่งตัวเมืองแพร่ ซึ่งตรงนั้น ห่างไปประมาณเกือบ 20โล พี่ชายยินดีไปส่ง และชวนเราสองนั่งคู่คนขับไป

พี่เขาเล่าให้ฟังว่าลูกๆอยู่กรุงเทพกัน ชีวิตพี่ก็สุขดีกับการอยู่ชนบท พี่ชายเล่าอีกว่า พวกที่ปลูกยางส่วนใหญ่เป็นคนในเมือง ชาวบ้านไม่มีใครปลูกกันเท่าไหร่ เราถามนู้น นี้ตลอดทาง จนถึงที่หมาย คือกลาง เมืองแพร่ เราขอลงใกล้กับร้านกาแฟ เพราะเรารู้สึกว่า อยากดื่มน้ำซักลิตร 2ลิตร ก่อนจากลา พี่โหนกยื่นสินน้ำใจให้ในจำนวนนึง แต่พี่ชายขอรับแค่น้อยนิด แสดงถึงความมีน้ำใจที่เขาให้กับเราสอง พี่โหนกบอกว่า ถ้าเราไม่อ่อนแอ เราจะไม่มีโอกาสเห็นน้ำใจที่เขายื่นมาให้เราเลย นี้มันทำให้เห็นเสน่ห์ของคนไทย ความมีน้ำใจ ความเอื้ออาทร หลายครั้งมีคำถามว่าปั่นจักรยานแล้วได้อะไร นี้คือ สิ่งที่เราได้มา และหาไม่ได้ในเมืองใหญ่ด้วย

เรานั่งพักดื่ม ชา กาแฟ น้ำเย็นๆจนหน่ำใจ แล้วเราก็ถามเจ้าของร้านเรื่องที่พัก และร้านอาหาร เจ้าของแนะนำให้เราไปทานอาหารร้านป้ามา เสียงเจ้าของบอกว่า อร่อยมากกกก มันทำให้รู้สึกว่าถ้าไม่อร่อยนะพี่ เราจะกลับมาถล่มพี่แทน (หนิงคิดในใจนะ)

เราถามทางและจากมา เราเริ่มปั่นอีกครั้งหลังจากพักมาพอสมควร เราเจอร้านป้ามา บนเส้นทางไป อำเภอลอง ร้านป้ามาใหญ่ แต่ก้ดูชาวบ้าน พี่โหนกเริ่มต้นสั่งอาหารอย่างเมามัน ทั้งหลู้ จิ้นนึง ฯลฯ ตามสไตล์พี่โหนก
อาหารอร่อยสมกับที่ร้านกาแฟบอก พี่โหนกเติมเต็มกระเพาะแล้ว คราวนี้เราต้องหาที่พัก ที่แรกที่เราไปคือ วรยา เพลส แต่เราจากมาเพราะเขาไม่มีที่เก็บจักรยานให้ และห้องที่เราต้องการอยู่ชั้น3 เราคงไม่มีแรงแบกจักรยานขึ้นลงตลอด โรงแรมภารดรเป็นที่ที่2ที่เราขอดู แต่ ห้องที่นี้แย่มากและราคาแพงกว่าที่แรก เราจึงกลับไปเอาที่แรก คราวนี้เขาเสนอห้องใหญ่แต่แพงกว่าเดิมนิดหน่อย เราจึงเอาเพราะอยู่ชั้น 1

ห้องที่นี้สะอาด และดี ถ้าใครมาก็ขอแนะนำ ไม่แพงแค่ 380บาทเท่านั้น
เราขอให้เขาหาหมอนวดให้2คน เพราะแดดอย่างนี้เราคงไม่ปั่นกันแล้ว ส่วนแพะเมืองผีเราตัดสินใจว่าเป็นโอกาสหน้าแล้วกัน

คืนนี้เป็นคืนสำคัญ เพราะเป็นวันมาฆบูชา หนิงเลยชวนพี่โหนกไปถ่ายรูปคน เวียนเทียนกัน เราออกจากที่พัก 6โมงเย็น ปั่นเที่ยวรอบเมือง ไปเจอร้าน trek เราเข้าไปคุยและซื้อของนิดหน่อย เจ้าของร้านแนะนำว่า วันพรุ่งอย่าไปทางข้ามเขาที่เราวางแผนกันไว้เลย เพราะทางไม่ดี เราเก็บเป็นข้อมูลไว้

จากนั้นเราปั่นมุ่งไปพระธาตุช่อแฮ ปีนี้คนเยอะเป็นพิเศษ เนื่องจากว่าเป็นปีเสือ และพระธาตุเป็นพระธาตุประจำปีเสือด้วย
พี่โหนกเองก็เป็นเสือ(ร้าย)
เราฝากรถไว้กับที่ฝาก เขาคิด เงินเราเท่ากับรถเครื่องเลย เขาน่าจะคิดเราถูกกว่านั้นนะ เพราะเราไม่มีเครื่องยนตร์ อิอิ

ผู้คนที่มาส่วนใหญ่ไม่ใช่คนท้องถิ่น ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดใกล้เคียง จุดที่ผู้คนเยอะสุด ไม่ใช่รอบพระธาตุ แต่เป็นพระทัน ใจ หนิงยังพูดเล่นๆกับพี่โหนกว่า คนสมัยนี้ใจร้อนกันน่าดู อยากได้อะไร ก็ขอแบบเร็วทันใจ เราถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนาน เราอยู่ถ่ายรูป และไหว้พระขอพรให้เราปลอดภัยในการเดินทาง แล้วเราก็ออกจากพระธาตุ
ขณะที่เราสองปั่นรับลมค่ำคืนอย่างเมามันส์ เหตุการณ์ไม่น่าจะเกิดก็เกิดขึ้น ยางแบนคะ เป็นยางของหนิงเอง ล้อหลัง ไม่รู้ว่าไปทับโดนอะไร
ตอนนั้นเซ็งมาก เพราะอีกไกลกว่าจะถึงที่พัก แถมมืดอีกด้วย เราทำการโบกอีกครั้ง คราวนี้มีรถกระบะมากมายให้เลือก เลือกที่จะโบกคันไหน แต่ว่าคนขับเค้าก้เลือกที่จะไม่จอดรับเหมือนกัน ของอย่างนี้ว่าไม่ได้ ดึกขนาดนั้นเป็นใครก็คง ไม่รับคนแปลกหน้าหรอก แต่คนดีผีคุ้ม คงเพราะไหว้พระมา เลยเจอกระบะคันนึงจอดรับ เขายอมที่จะไปส่งให้ถึงที่พักด้วย ตอนนั้นที่โบก เราใช้มุข เดินจูงจักรยาน ดีกว่ายืนนิ่งๆโบก พี่ที่รับเราเขาเป้นตำรวจ พี่เค้าเลยว่าคันอื่นๆถึงไม่กล้ารับ หนิงได้นั่งหหน้าบอกทางกลับโรงแรม ระหว่างทางหนิงถามพี่เค้าเรื่องทางกลับอุตรดิตถ์วันพรุ่งนี้ ได้ความว่าเส้นทางเปลี่ยว และผิวทางยังไม่ดี พี่เขาไม่แนะนำให้เรากลับทางนั้น

คืนนั้นเราทำการกลับไปปะยางให้เรียบร้อย แล้วปั่นtest ซึ่งผลเป็นที่น่าพอใจว่าไม่รั่วอีก เราปั่นหาของกินในเมือง ก่อนกลับมานอน

วันที่สี่ 1มีนาคม2553
เราเริ่มต้นวันสุดท้ายด้วยโจ๊กในเมืองก่อนที่จะเริ่มปั่น เราออกจากเมืองเกือบ 8โมงแล้ว และก็มุ่งหน้าสู่อุตรดิตถ์ทางถนนใหญ่ เราปั่นมาเรื่อยๆ จากถนน4เลนจนเจอถนน2เลน และยังเจอการก่อสร้าง เป็นระยะทางยาว เราสองไม่ชอบอาการนี้เอาเสียเลย จนที่สุดเรามาเจอทางเบี่ยง

เราเลยสรุปกันภายหลังว่าเห็นทีต้องปั่นกันเส้นใหญ่ โบก ก่อนเวลาดีกว่า แล้วค่อยปั่นไปเอารถ ตกลงตามนั้น เราก็เริ่มทำการโบก แต่ว่าถนนใหญ่รถส่วนใหญ่มักไม่จอด และตรงที่เราโบก เป็นทางเบี่ยงพอดี ดังนั้นเราจึงเปลี่ยนแผนใหม่ เอาว่าปั่นไปก่อนอีกระยะ

เราปั่นต่อมาอีกหน่อย ก็เจอด่านตำรวจ เราสองเริ่มมี idea ที่จะให้ตำรวจโบกให้ แทน แล้วเราก็จอดรถเลยด่านมานิด หนิงทำท่าทางเก้ๆกังๆ จนตำรวจถามว่าจะไปไหน เราบอกว่าจะไปท่าปลา แล้วหนิงก้โบกรถที่เพิ่งผ่านการตรวจ แน่นอน ใครจะจอดละ ก็มันด่านนะ อยากไปให้ไกลตำรวจจะตาย ยืนโบกกันสักพัก ตำรวจก็ถามอีกว่าทำอะไร เลยบอกว่ากำลังโบกรถไปอุตรดิตถ์ ตำรวจเลยบอกว่าโบกให้เอาไหม เข้าเป้าเราทันที” เอาสิคะพี่ตำรวจ หนูโบกมาทั้งวันไม่มีใครรับหนูเลย “ คิดในใจ แล้วในที่สุด ตำรวจก็หารถให้เราได้คันนึง เรื่องนี้สอนให็รู้ว่า ผู้ทรงอิทธิพล ย่อมทรงอิทธิพลวันยังค่ำ เรานั่งกระบะหลังอย่างสบายอารมณ์อีกครั้ง ครั้งนี้เราหลบเส้นทางที่กำลังก่อสร้าง และเขาได้อย่างดี
พี่คนขับกำลังจะไปอำเภอตรอนซึ่ง เราสามารถติดรถไปลง4แยก ไปท่าปลา

พอถึงสี่แยก เราได้ลงมาบิดขี้เกียจกันหน่อย เวลาตอนนั้น 11 โมงแล้ว พี่โหนก เกิด idea คือหาร้านน้ำฝากกระเป๋าหลังกันเถอะ ตอนนั้นอะไรก้ไม่ปฎิเสธแล้ว เพราะอากาศที่ร้อนอบ ทำให้เราอยากทำอะไรก็ได้ ที่ทำให้เราปั่นสบาย การทิ้งของหนักๆไป ก็เป้นวิธีนึง เราเจอร้านน้ำใกล็สี่แยก เราทำทีไปซื้อน้ำ ก็ซื้อน้ำจริงๆนั้นละ เพราะกระกายมาก แล้วเราก็ขอฝากกระเป๋า พี่เขาใจดีมากบอกว่า ว่างไว้เลย พี่โหนก เอาข้าวเหนียวมูนที่ซื้อมาตอนเช้า ให้เขาด้วย

เราสองดีใจก้นปริ รีบปั่นออกจากร้านเพื่อไปเอารถ อีกแค่30กว่าโลเอง ตอนนี้พี่โหนกปั่นอัดตัวปลิวเลย หนิงปั่นตาม ปั่นไปได้พอสมควร พี่โหนก ก็เริ่มเบา ก้แหม แรงจะหมดอยู่แล้วทำคึก

เราปั่นมาเรื่อยจนจะใกล้เที่ยง ทางเข้าท่าปลา เป็นrolling ไม่ชันนัก แต่ก็ต้องออกแรงพอควร ตอนนั้นหนิงเริ่มเจ็บขาขวา ซึ่งเป็นหลังจากไปคาราโอเกะ(ทั้งร้องทั้งเต้น)กับเพื่อนเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน อาการกำเริบจึงไม่อยากปั่นเร็ว ตอนนั้นเองพี่โหนกเกิดความคิดบรรเจิดอีกครั้ง พี่โหนกปั่นเข้าไปร้านซ้อมรถเครื่อง แล้วเจรจาขอยืมเช่ารถเครื่อง โดยการทิ้งจักรยานเป็นตัวประกัน ลุงเจ้าของร้าน ทำท่าพยักให้เราเอารถไป แบบ ไม่ต้องเจรจาต่อรองให้เหมื่อยปาก เราก็รีบเปลี่ยนรถกันทันที ที่แปลกใจเลยคือว่าทำไมลุงไม่ถามเราซักคะ เราคิดกันว่าลุงคงเป็นใบ้ หรือหูหนวกสักอย่าง เพราะเห็นใส่เครื่องช่วยฟัง พี่โหนกขับ หนิงซ้อน เราสอง รู็สึกขำขันในการกระทำบ้าๆแบบนี้ เราบิดกันเข้ามา 10กว่าโลก็ถึงที่จอดรถ

คนเฝ้ารถถามว่าจักรยานไปไหน เราเลยบอกว่าฝากเค้าไปทั่วเลยพี่ ตอนกลับออกจากท่าปลา มองลงไปที่เขื่อน เห็นน้ำที่ลดลงมากแล้วใจหาย ปีนี้คง แล้งน่าดู พี่โหนก บิดรถเครื่องมาก่อน แล้วเราขับตามมาเรื่อยๆ จนถึงบ้านลุง เราเอารถเครื่องไปคืนและบอกลุงว่าเราเติมน้ำมันให้นะ ลุงยิ้มดีใจใหญ่ พี่โหนกหยิบยื่นสินน้ำใจให้ลุง ลุงปฎิเสธไม่รับ เราบอกว่าเป็นค่าสึกหรอของรถ เพื่อนลุงบอกให้ลุงรับเถอะ ลุงจึงรับ จริงๆแล้วลุงคงไม่ได้อยากได้อะไรหรอก เห็นเรากลับมา ลุงก็ดีใจ (จริงๆลุงอยากได้จักรยาน แซวเล่น)

เราสองแพ็คจักรยานแล้วขับออกมาร้านน้ำ เพื่อจะมาเอากระเป๋า ซึ่งก็เรียบร้อยดี
เราขับรถกลับเข้ากรุงเทพ แบบเพลียๆ แวะเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ปั๊ม และหาที่ดื่มน้ำ กินอาหาร ลองท้อง วันนี้เพลียจากแดดมากกว่า แต่ความประทับใจในทริปนี้ไม่ทำให้เราทั้งสองผิดหวังเลย ถึงแหมเราจะขัดแย้งกัน และแผนถูกเปลี่ยนเรื่อยๆก็ตาม แต่น้ำใจที่เราได้รับจากชาวบ้าน ที่เราขอความช่วยเหลือ และนอกเหนือจากที่เราขอ มันทำให้ทริปนี้ถูกเติมให้เต็ม และเป็น ทริปในดวงใจเราไปอีกนานแสนนาน





โดย นางฟ้า